You Can If You Think You Can >
Mr.Jodoi say

" โจดอยทำได้คุณก็ต้องทำได้ "

นายเกรียงศักดิ์ นามโคตร (อาจารย์ดอย)

ผู้ก่อตั้ง บริษัทโจดอย ไอทีแอนด์เซอร์วิส จำกัด ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัทโจดอย ไอทีแอนด์เซอร์วิส จำกัดและเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน

Certifications :
- CCNA (Cisco Certify Nework Associate)
- CCNA Security (Cisco Certified Network Associate Security)
- CCDA (Cisco Certified Design Associate)
- Cisco Express Foundation Design Specialist
- CCNP (Cisco Certified Network Professional)
- CCDP (Cisco Certified Design Professional)
- SBCSEN , SBCSAM , SMBAM , SMBEN , CQS-SMBE from Cisco SMB University
- CompTIA Linux+
- CompTIA Security+
- Pearson VUE Certified Administrator

More

--------------------------------------------------------------------

Basic Network Command by Mr.Jodoi

มาเรียนรู้การใช้ Network Command เบื้องต้นกันนะครับ ขอแนะนำ command ping และ command traceroute จากวีดีโอที่อาจารย์เกรียงศักดิ์ นามโคตร (อาจารย์ดอย) ทำไว้ใน youtube ครับ


IP Address version 4 ตอนที่ 1 by Jodoi

มาเรียนรู้การคำนวณ IP Address version 4 ด้วยเทคนิคการใช้ตารางมหัศจรรย์ซึ่งทำให้ศิษย์นำไปใช้ในการทำงานและการสอบ Cert.IT ได้อย่างดีเยี่ยม

Basic Linux Command ตอนที่ 1 (ls,cat,vi)by Jodoi

มาเรียนรู้การใช้ Linux Command เบื้องต้นกันครับ เริ่มต้นด้วย command ls , cat และ vi ซึ่งปัจจุบันมีความจำเป็นต้องเรียนรู่อย่างยิ่งเพราะหลายๆองค์กรมีการใช้ Linux Server กันมากขึ้น

 

และยังมีวีดีโอดีๆอีกมากมายรับชมได้ใน แชลแนล Mr.Jodoi ตามด้านล่างนะครับ

https://www.youtube.com/user/MrJodoi

 



เรียนรู้การติดตั้ง Ubuntu Server กันครับ

ในบทความนี้ผมจะแสดงวิธีการติดตั้ง Ubuntu Server บน VMware Workstation นะครับ สิ่งที่ต้องเตรียมการคือ file ubuntu-20.04.1-live-server-amd64.iso โดย Download ได้ที่ link ด้านล่าง

https://releases.ubuntu.com/20.04.1/ubuntu-20.04.1-live-server-amd64.iso

 

และ VMware Workstation ตามภาพด้านล่าง

 

เริ่มต้นด้วยเปิดโปรแกรม VMware และคลิก Create a New Virtual Machine จะเข้าสู่ขั้นตอน เลือกประเภทของการติดตั้ง แนะนำให้เลือก Custom ตามรูปด้านล่าง

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือก hardware ตามรูปเลือกเป็น Workstation 15.x

 

ขั้นต่อไปให้เลือก Installer disc image file (iso) โดยให้ Browse ไปที่ต่ำแหน่งที่ Download file iso ไว้

 

ขั้นต่อไปให้กำหนดชื่อ และ Username พร้อมทั้งตั้ง Password ให้ตรงกัน 2 ครั้ง ดังตัวอย่างตามรูปภาพ

 

ขั้นต่อไปให้ตั้งชื่อ VMware และตำแหน่งที่เก็บ VMware ของเรา แนะนำให้สร้างใหม่ขึ้นมาเองดังตัวอย่างในรูปภาพครับ

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดจำนวน Processors สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ ตามรูปภาพใช้ค่าเดิมคือ 1 Processors

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดจำนวนขนาดของ Memory สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ ตามรูปภาพกำหนดเป็น 2048 MB

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนด Network Type สามารถเปลี่ยนแปลงภายหลังได้ ตามรูปภาพสำหรับผู้เริ่มต้นแนะนำให้เลือกเป็น NAT และ Computer หรือ Notebook ต้องสามารถออก Internet ได้

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือก I/O controller types ใช้ค่าเดิมตามรูปภาพ

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือก Disk Type ควรเลือกตามจริง ถ้าเลือกไม่ถูกต้องอาจจะติดตั้งไม่ได้ ตามรูปภาพเลือกเป็น SCSI

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการเลือกตำแหน่งของ Disk ที่จะใช้งาน แนะนำให้สร้างใหม่โดยเลือก Create a new virtual disk ตามภาพด้านล่าง

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนดขนาดของ Disk อย่างน้อย 20 GB ตามภาพด้านล่าง

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการตั้งชื่อ Disk File จะตั้งใหม่หรือใช้ชื่อตามเดิมก็ได้ตามรูปภาพ

 

ขั้นตอนสุดท้ายเป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ถ้าพร้อมก็กด Finish เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการ Boot เครื่อง เพื่อติดตั้ง Ubuntu Server

 

ถ้า Boot ได้ไม่ติดปัญหาในเรื่องของ Hardware จะได้ตามรูปภาพ

 

ขั้นตอนนี้ให้เลือกภาษาที่ใช้ในการติดตั้ง โดยเลือกเป็น English ( ใช้ Tab ช่วยนะครับ )

 

เลือก Installer update available

 

เลือก Keyboard ตามภาพ

 

ขั้นต่อไปเป็นการกำหนด IP Address ให้ Ubuntu Server ตามรูปภาพ ได้ IP Address มาแล้ว จาก DHCP Server แจกมาให้ เนื่องจากเราเลือกเป็น NAT ไว้จาก VMware ครับ

หรือเราสามารถกำหนด IP Address เองโดยเลือก Edit IPv4 ตามภาพก็ได้ ( สำหรั้บผู้เริ่มต้นไม่แนะนำครับ )

 

เมื่อมี IP Address แล้ว ให้เลือกกด Tab มาที่ Done ตามรูปภาพ

 

ขั้นตอนต่อไปการ Config Proxy ถ้าไม่มีแนะนำให้กดข้ามไปได้เลยครับตามภาพ

การ Config Ubuntu mirror กด Done ได้เลย

 

ขั้นตอนการ Config storage ถ้าไม่ชำนาญให้กด Done ได้เลย

ขั้นตอนต่อไปกด Continue ได้เลยครับ เพื่อเป็นการติดตั้ง

 

ขั้นตอนต่อไปเป็นการกำหนด Username และ Password ในการเข้าใช้ Ubuntu Server โดยตั้ง password ให้ตรงกัน 2 ครั้ง

ขั้นต่อไปให้เลือก Install OpenSSH Server ด้วยครับ หรือจะติดตั้งภายหลังก็ได้

ขั้นตอนต่อไปจะทำการเลือก Featured เพิ่มหรือไม่ก้ได้ ถ้าไม่กด Done ได้เลยเพื่อเข้าสู่การติดตั้ง

 

ขั้นตอนติดตั้งจะใช้เวลานานพอสมควร และจะมีการ Update ด้วยครับ

เราสามารถหยุดการ Update ได้โดยการกด cancel Update และจะมีการ Rebooting ตามด้านล่าง ซึ่งจะใช้เวลานานเช่นกัน

สามารถกด View full log ดูได้ จะแสดงตามภาพด้านล่าง

 

ถ้าติดตั้งสำเร็จจะ Boot และแสดงตามด้านล่างจะมีให้ login เราสามารถใส่ username ที่ตั้งไว้เพื่อเข้าสู่ระบบ

 

ถ้า Login สำเร็จจะเป็นตามภาพด้านล่างครับ

สำเร็จครับ มี Linux Server ที่เป็น Ubuntu Server ไว้ใช้

หวังว่าบทความนี้คงจะก่อให้เกิดประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ในแวดวงไอทีนะครับ

ขอบคุณครับ

 

-------------------------------------------------------------------------------------------------------

บทความ Network

บทความ Linux

บทความ Certificate